Førerkort
สำหรับหญิงไทย (ชายไทยด้วยก็ได้) ที่ย้ายมาอยู่นอร์เวย์หม่ๆ ก็อาจไม่รู้ข้อมูลกฏระเบียบที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองมากนัก คือดิฉันจะพูดถึงการทำใบขับขี่รถยนต์ ลองอ่านภาษานอร์เวย์ที่คัดลอกมาจาก http://www.vegvesen.no
Andre land/bestemmelser
Har du flyttet til Norge og har førerkort utstedt utenfor EØS-området i et av følgende land: Albania, Algerie, Argentina, Australia, Bosnia-Hercegovina, Brasil, Canada, Chile, Egypt, Filippinene, Hong Kong, Hviterussland, Indonesia, Israel, ¬Japan, tidligere Jugoslavia, Kina, Kroatia, Makedonia, Malaysia, Mexico, Moldova, Monaco, Montenegro, New Zealand, Peru, Russland, San Marino, Singapore, Serbia (tidligere Serbia-Montenegro), tidligere Sovjet, Sør-Afrika, Sør-Korea, Taiwan, ¬Thailand, Tunisia, Ukraina, USA, Venezuela, kan få byttet til norsk ¬førerkort etter å ha bestått en praktisk førerprøve i den mest ¬omfattende klassen. Innbytte må skje innen ett år etter at du tok fast bopel eller flyttet tilbake til Norge.
ดิฉันเองก็ไม่รู้ว่ามีกฏข้อนี้อยู่ เพียงแต่ว่าปีแรกที่ย้ายมาอยู่นอร์เวย์ก็ทำใบขับขี่อินเตอร์มาจากเมืองไทยขับได้ประมาณ 8เดือนก็เข้าหน้าร้อน อากาศเหมาะก็เลยยื่นขอสอบทำใบขับขี่ ได้รับจดหมายจากขนส่งแจ้งว่าสามารถเปลี่ยนใบขับขี่เป็นของนอร์เวย์ได้ ถ้าสอบผ่านขับรถภาคปฏิบัติ (คือไม่ต้องสอบข้อเขียนภาคทฤษฎี และไม่ต้องขับลื่น ขับไฟด้วย) เพราะว่าดิฉันยังอยู่ที่นอร์เวย์ไม่ครบ 1ปีและมีใบขับขี่จากเมืองไทยมาก่อนแล้ว โชคดีมากที่ไม่พลาดโอกาสนี้ หนังสือทฤษฏีกฏจารจรการขับรถของประเทศนอร์เวย์ที่ยืมเพื่อนสามีมาก็เลิกอ่านเลยค่ะ ว่าจะสอบให้ผ่านในครั้งแรกเสียหน่อย ตอนนี้น้องๆ ถามพี่จันทร์สอบผ่านทฤษฎีครั้งที่เท่าไร ก็ตอบไม่ได้ค่ะ เพราะไม่ได้ไปสอบ พวกเราชาวไทยทั้งหลายที่ต้องไปสอบข้อเขียนภาคทฤษฏีภาษานอร์เวย์ บางคนต้องสอบหลายครั้งมากกว่าจะสอบผ่าน อารมณ์กับค่าใช้จ่ายก็ต้องเสียมากตามจำนวนครั้งที่ต้องไปสอบให้ผ่าน อีกทั้งขับลื่น ขับไฟ ก็มีค่าใช้จ่ายที่สูง พูดเล่นได้ว่าอยากได้ใบขับรถยนต์นอร์เวย์อาจต้องกู้เงินจากธนาคารเหมือนซื้อบ้านสักหลัง ถ้าพูดจริงก็คือต้องเก็บเงินเพื่อทำการณ์นี้โดยเฉพาะค่ะ
จากประสบการณ์จริง
1. ส่งใบขับขี่ไปแปลที่ออสโลโดยให้ประทับตราของสถานเอกอัครราชทูตไทยด้วย
2. สมัครเรียนขับรถกับโรงเรียน (4ชั่วโมง เพื่อให้ทางโรงเรียนเป็นผู้ส่งตัวไปสอบที่ขนส่ง)
ค่าใช้จ่ายก็ลดน้อยลงไปมาก จำได้คร่าวๆ ค่าแปล 300โครน ค่าเรียนขับรถ 420โครนต่อชั่วโมง ค่าเช่ารถเพื่อสอบ 900โครน ค่าถ่ายรูป 90โครน ค่าทำใบขับขี่ 175โครน
มีเรื่องเล่าตลกตอนนี้ ตอนนั้นไม่ตลกเท่าไร คือว่า ใบขับขี่ของดิฉันที่แปลและส่งยื่นเรื่องกับขนส่ง มีจดหมายจากขนส่งแจ้งว่าไม่ผ่านหรือใช้ไม่ได้ทำนองนั้น รู้ไหมทำไม ?
ใบขับขี่ภาษาไทยพิมพ์ว่า “ชนิด รถยนต์ส่วนบุคคลตลอชีพ” แปลเป็นภาษาอังกฤษ “Type Life-time driving of personal car” เจ้าหน้าที่ขนส่งงง ว่า “Life-time” มันคืออะไร ต้องไปชี้แจงว่ามันก็คือ “ถาวร” (permanent)
สรุปบางเรื่องเห็นว่าง่ายๆ ไม่น่าต้องอธิบาย เจ้าหน้าที่เขาไม่โง่หลอกแต่เขาไม่รู้ ให้เอาใจเขามาใส่ใจเรา ย้ายบ้านย้ายเมืองกันมา ตอนแรกคิดว่าไม่น่ายาก อยู่ๆไปก็รู้ เรื่องง่ายก็กลายเป็นเรื่องยาก เรื่องยากก็ยิ่งยากเข้าไปใหญ่
หวังว่าข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์ กับใครที่หลงแวะเข้ามาอ่านเจอนะคะ แล้วโซเฟียจะอ่านเรื่องนี้ภาคภาษาไทยเข้าใจเมื่อไรหนอ Vi får se!
0 Comments:
Post a Comment
Subscribe to Post Comments [Atom]
<< Home