Tuesday, October 31, 2006

Litt om Thailand

Sofie og onkel Lek
Thailand er et konstitusjonelt kongedømme, og i år 2006 har kong Bhumibol Adulyade landets vært statsoverhode i 60 år. Det er den høyeste tronen i verden. Kongen er satt høyt slik at han ser ut som om han kommer fra himmelen.
Thailand er kjent som Siam, som var landets offisielle navn frem til 11. mai 1949. Ordet thai (ไทย) betyr (frihet) på thailandsk. Thailand er det eneste land i Sørøst-Asia som aldri har vært styrt fra Europa. Du kan si at Thailand ikke har vært en koloni. Thailand har ikke vært i union med andre land heller. Thailand har 64,2 millioner innbyggere. Hovedstad er Bangkok som har 6,5 millioner innbyggere. Bangkoks innbyggertall er større enn mange lands innbyggertall.
Thaiene utgjør 75 prosent av befolkningen, mens kineserne, som den nest største folkegruppen teller 14 prosent. Kineserne er stolt av å kalle seg selv thaier. Thaiene er hyggelige mennesker. Samfunnet er integret på grunn av buddhismens regler og moraloppfating.
Buddhismen er landets offisielle religion og 95 prosent av befolkningen bekjenner seg til denne religionen. Thailands tradisjonelle kultur er sterkt preget av buddhismen. Thailands tradisjonell kutlur har sin forklaring.
Det viktigste språket er thai. Mange utlendinger som bor i Thailand kan ikke thai, men de kan få gode jobber i Thailand. Det er store muligheter å få forskjellige jobber stillinger.
Landets viktigste industrier er turisme, tekstiler, ulike jordbruksprodukter, tobakk , elektriske artikler, dataprodukter og biler. De industriene som har store virksomheterkan selge det til innenlandske markedet og eksportere produktene sine til mange land. De fleste folk i Thailand har muligheter til å få jobb i industrien.
Landets areal dekker 514.000 kvadratkilometer. Thailand grenser til Burma, Laos, Kambodsja og Malaysia. Thailands nordlige områder består av fjell, med Doi Inthanon på 2576 moh. som høyeste punkt. I nordøst dominerer Khorat-platået, avgrenset i øst av Mekong-elven. Thailands sentrale deler består hovedsakelig av den flate elvedalen Chao Phraya. I sør smalner landet i det trange Kra Isthmus, før landskapet igjen vider seg ut mot den malaysiske halvøy. Derfor har Thailand mange forskjellige fine landskapstyper.
Klimaet er tropisk, og er preget av monsunvinder. Fra midten av mai til september hersker en sørvestlig, regnfull og varm monsun, og fra november til midten av mars preges landet av en kjøligere og tørrere, nordøstlig monsun. I sør er det som regel alltid varmt og fuktig. Egenlig har Thailand veldig stabilt og fantastisk klimaet. Det er så lett å drive jordbruk i Thailand. Det er overflod på mat. Det er ikke tvile om at Thailand har god mat.
I tilegg til kan jeg si at Thailand er et fantastisk land. Thailand har en god kong som leder landet. Thailand har ikke vært en koloni. Thailand har frihet, eget språk, logisk tradisjonelle kultur religion og god mat. Thailand har passende areal, befolknings størrelse, arbeids kravet og tropisk klima. Dette er årsakene til at Thailand har enormt mange aktiviteter, viksomheter og utendørsaktiviteter.

Sunday, October 29, 2006

DoDo Fred Troll

Jeg har kjøpt DoDo Fred Troll og har betalt i dag, men penger vil inne selgerskonto i morgen. Jeg må vente noen dager også til å få ham. Fordi han må reise fra Oslo til Bodø. Jeg gleder meg å hente ham. Jeg ønsker meg at verden er i FRED!

Tror du at hvilken er DoDo Fred troll?

Stort bilde eller lite bilde!

"Dodo, en troll, er ca. 15cm. høy, (7tommer) pluss hår. Han er en liten norsk troll, du kan se, han har en stor rød nese, en hale og store føtter. Men han er veldig nydelig og snill troll. Hans størst ønske medfører 'Fred' til menesker. DoDo er ogininal, en 100% håndlagd. Hans kroppen er laget av te farget bomull og flora bomull. Han har pyntet ansikt og liten kule øyer. Hans smykke er laget av hvite glassperle og marmor."

Enderlig kommer DoDo et nytt hjem. Velkommen! du får lov å stå i skapet i stue som du kan minne meg at jeg må ikke ha krig. Han blir gave fra Sofie til min mann eller hennes pappa fordi det er Farsdag snart. Tenk om man kan konsentrere seg å være i fred hele tid, det blir bra for alle. Jeg ønske meg at jeg kan kontrollere mitt hjerte. Det er vanskelige å kontollere seg selv, ikke tenk å kontorllere andre. Men livet bør være full kontoll.

Friday, October 13, 2006

USA 11. september 2001

Word Trade Center
I går var det 11. september 2001 og fint vær. Jeg gikk hjem kl.14.30 og laget mat til middag. Jeg var enig med mannen min i at vi skulle ha grillmat til middag, hvis det var fint vær. Så vi hadde grillmat i går. Jeg ventet min mann hjem fra jobben for å grille sammen.

Endelig kom han kl.16.10, og jeg gledet meg til å grille, men han sa ”Windy kom og se på TV.” Det var nyheter, jeg så og sa ”Hva skjer?” Min mann forklarte. Jeg sa ”Nei det er utrolig.” Jeg kunne ikke glede meg til å grille på grunn av at denne veldig interessante nyheten var trist og sjokkerende. USA UNDER ANGREP.!

For det første tenkte jeg på menneskene, hvor mange kan være drept, jeg håpet minst mulig, men skal vi lese informasjon fra nyhetene nå. Ingen vet ennå hvor mange tusen som er døde.

”Etterlatte lever i desperat uvitenhet. De savner sine, men vet ikke om de er omkommet eller ligger levende begravet i ruinene. Trolig klamrer de seg til håpet om gjensyn etter som meldingene tikker inn om at det fortsatt kommer livstegn innenfra det sammenraste komplekset. 50 000 personer hadde sitt daglige virke i World Trade Center. Hvor mange som hadde rukket å komme på jobb da katastofen inntraff, er det ingen som vet.
I Pentagon antas det at rundt 800 ansatte omkom da passasjerflyet styrtet ned i det berømte bygget.”

For det andre Terrorhandlingene mot New York og Washington viste hvordan framtidens krigføring kunne bli. Jeg kunne ikke tro det at mennesker gjorde slik med mennesker. Jeg tror at angrepene kan vise, og dermed føre til, at det blir færre land som kan gripe inn i konflikter.

For det tredje kunne jeg ikke forestille meg hvor mye det koster for eiendomsselskapene og den økonomiske effekt dette får for hele verden, men det gjøre ikke noe. Min mening er at det viktigste er menneskene

Til slutt håper jeg at det var første og siste gang dette kunne skje i vår verden.

Saturday, October 07, 2006

Klima og natur i Thailand

Thailandskart
Tema : Klima og natur i Thailand
Øv på å skrive fakta om hjemmeland ditt
En av mine oppgaver i andre semester på skolen

Klima og natur i Thailand hjemlandet mitt er veldig fantastisk.
Klimaet er tropisk eller monsunklima. Det er varmt og fuktig. Temperaturen er stabil, og vi har tre årstid som er :-
Vinter (kjølig og tørt) + 20 grader november-februar
Sommer (varmt) + 35 grader mars-juni
Regntid (mye rennet) + 30 grader juli-oktober
Over nevne temperaturene er gjennomsnitt, det kan være mindre og mer, for eksempel vinter kan være 15 grader for noen dagene og sommer kan være 40 grader for noen dagene også. Det høre for varmt vært, men det er 40 grader med vind. Det er slett ikke så verst, hvis du venne deg til det.

Naturen er gavene som landet har fått av :-
Jordbruks produkt for eksempel ris, gummi, mais, jute, rørsukker, kokosnøtter, jordnøtter, søtepoteter, ananas og bananer. Thailand er et av de land som eksporterer mest jordbruks produkter i Asia. Thailand var verdens største eksportører av ris, men nå er jeg ikke sikker. Forresten tror jeg en av fem verdens største eksportører av ris.
Skogbruk for eksempel teak, yang og andre treslag. Teak var den mest verdifulle eksportert, men nå har vi kanskje ikke mye for å eksporterer.
Fisk for eksempel makrell, ansjos, skalldyr, reker og krabber. Thailand pleide å ha mye fisk i Thailand havbukt, men nå må vi dra til Indonesia havet for å fiske. Vi har ikke nok fisk å underholde vårt næringslivet.
Mineraler for eksempel tinn, olje, naturgass, rørledning, jern, gull, kobber, wolfram og zink. Thailand var nummer 3 av de tinn produserende land i verden, men nå er jeg ikke sikker. Det pågår kontinuerlig leting etter olje og naturgass på kontinentalsokkelen i Thailand bukta.

I tropisk landet er det varmt og fuktig klimaet, og det regner mye som kan bestemme begge plantelivet og mennesker livet som jeg liker det beste. Derfor jeg synes at Thailand er veldig fantastisk klimaet og naturen.

Minne fra bryllupet mitt

Mine svigerforeldre
Tema : Et brev til en venn
Øv på å skrive presens preteritum og presens perfektum
En av mine oppgaver i andre semester på skolen

Kjære Miau! Bodø Norge-22/08/01

Nå skriver jeg til deg for første gang etter at jeg har vært frue nesten et år. Den 09 september 2001 vil det bli et fullt år. Tenk at jeg virkelig er gift som nesten var gammel jomfruen. Jeg savner deg. Derfor gleder jeg meg sånn til å besøke deg når jeg reiser til Thailand omtrent i april nest år, for da skal jeg vise deg de fine bildene vi har tatt i Norge om vinteren og sommeren. Jeg har mange kjempe fine midnattsol bilder.

Tusen takk igjen for at du var forloveren min. Det var mange som trodde vi var tvillinger. Det var ikke mye stress i alle timene under vielsen. Jeg var ikke så nervøse fordi du var med meg både på morgen tradisjonen og kveldsfesten. Du hjalp meg med å pynte og kle på meg. Du pratet bare om våre morsome historier som vi hadde opplevd sammen. Det var morsomt også når du snakket om venenene våre. Hvor mange er ikke gift nå ? De er lykkelige arbeidskvinne og liker å leve alene.

Alt gikk bra både på morgen tradisjonen og kveldsfesten. Det var nydelig pyntet og kjempe god mat. Gjestene var fornøyd med mat, og du spiste mye også ikke sant! Vi hadde ikke bryllupskake, men vi hadde mange thailandsk deserter. Det var lurt at vi hadde kinesisk mat til lunsj på morgen tradisjonen og thailandsk mat til middag på kveldsfesten. Så du kan ha samme menyen som meg når du har vielse.

På kveldsfesten måtte noen holde tale. Jeg var så nervøse når jeg snakket. Børge var også veldig nervøse, men hans tale til meg og familien min var meningsfylt. Du syntes det og fortalte meg, men jeg kunne se også. Min sjef, firmaets eiers holdt en fin tale til meg. Han sa at jeg var flink og arbeidsom. Jeg var imponert når han sa jeg var en av familien hans.

Vi fikk masse penger gaver i Thailand, men vi fikk mange flotte gaver og masse utstyr som vi trengte, i Norge. Jeg husket penge gaven fra sjefen min. Han gav meg ganske mye. Det var 10,000 baht og 1,000 us dollar. Hvis jeg brukte de til å kjøpe mat i Thailand ville det bli varer for 53,000 baht. Hvis jeg brukte de til å kjøpe mat i Norge ville det bli bare 10,600 kroner. Forstår du ? Det betyr mat prisen I Norge er 5 ganger høyere enn i Thailand. Det er akkurat som valuta (ca. 5 baht = 1 krone). Tusen takk for din penge gave i us dollar. Jeg bruker ikke de pengene og beholder de som et minne.

I morgen tidlig skal jeg gå på skolen, jeg har mye mer å fortelle, men nå er veldig sent så jeg må gå til seng. Ha det godt, jeg savner deg, ser deg nest år i Thailand!

Vennlig hilsen
Windy

Min første bolig i Norge

Sofie og bestemor sin
Tema : Min bolig
Øv på å skrive presens
En av mine oppgaver i første semester på skolen

Jeg bor i Rønvik og jeg har en part av en firemannsbolig som er hvit hus og har seks rom, det er to soverom, et bad, et kjøkken, ei stue og en bod. De er alle fine og komfortable rom. På grunn av den tegningen er passer ut market. Det jeg liker best ved boligen min er at den er i byen nær butikken og helsesenteret. Om vinteren liker jeg ikke boligen min, for den er på en høy plass, og det er vanskelig å kjøre bilen opp. Men den er bra om våren, sommeren, høsteren, for jeg har en bra utsikt.
Den vanligste boligtypen er tomannsbolig i Rønvik. Jeg tror at min naboer er snille, men jeg kjenner bare to menn som bor i sammen hus. En av dem er berømt, han heter Alrid som er en fotball spiller i Bodø Glimt. Andre er engelsk mann, han heter Michale som er en lære i Yrkes skolen. Han lære om maskin eller mekanisk arbeid, og han kan snakke bra norsk
I Rønvik er en plass i Bodø kommune som er det en stor by, men det er ikke mange folk her, og derfor er det ikke for mye bråk. Den har også mange tilbud for eksempel sykehus, skole, offentlige kontor, kjøpesenter, så det er et komfortabelt sted å leve, og jeg trives godt i min bolig i Rønvik i Bodø.

Sommerferien i Portugal

Algarve





Ascensor da Bica
Lisboa


Windys dagboksnotater fra en sommerferie i Portugal
Lørdag 07. juli 2001
Jeg og min mann reiser med fly fra Bodø til Oslo. Vi ankommer Oslo om ettermiddagen. Vi tilbringer ei natt på et hotell som er i nærheten av Oslo flyplass, på grunn av at vi skal med fly fra Oslo til Amsterdam i morgen tidlig. Vi spiser kveldsmat på Mcdonald, og iskremen her smaker kjempegodt, akkurat slik som jeg har spist i Bangkok.
Søndag 08. juli 2001
Jeg og min mann henter våre to store kofferter fra flyplass bagasje oppbevaring, og vi går straks til venterom, men vi har nok tid til å drikke en koppe kaffe, og mannen min har lyst til å røyke før vi går om bord. Vi ankommer Amsterdam ca. kl.10.00. Vi skal dra til Faro flyplass som ligger sør i Portugal kl.18.00. Derfor tar vi tog fra Amsterdam flyplass til sentrum for å se på livet i byen. Det er så skitten med papir i veiene, og jeg tror at mange mennesker som går i veiene er bare turister. Den har utrolige bygninger som er spesielle arkitektur. Jeg kjøper små kopier av de bygningene som er min suvenir, så jeg kan sette de på kjøleskapet i mitt hjem etterpå. Vi spiser lunsj sammen på KFC fordi stekt kylling er favoritt maten til min mann. Flyet er nesten to timer forsinket, så vi må vente. Vi klarer ikke å gå fra Amsterdam til Faro. Vi ankommer Faro flyplass nesten kl.23.00, og vi tar taxi til et hotell som ligger i Algarve. Jeg er litt redd, når jeg er i taxien, på grunn av at sjåføren kjører kjempefort i fart mellom 140 og 160 kilometer per time. Endelig kommer vi på hotellet, presis kl.24.00. Vi tar en dusj og legger oss.
Mandag 09. juli 2001
Jeg står opp ganske tidlig, kl.08.00, og min mann våkner senere, kl.09.00. Frokost blir stengt kl.10.00, da må vi ikke stå opp for sent. Vi tilbringer ca. to uker i Portugal, både i Algarve og Lisboa. Jeg er ikke så imponert av Algarve. Været er kjølig om kvelden. Det er 17 grader med vind. Vannet i sjøen er for kaldt for å svømme. Det er 14 grader, selv om det er kjempemye solskinn. Det er jo kjempe god mat som smaker godt, men det er ikke rimelig. Klær er også veldig dyre, så jeg kan ikke handle. Jeg kjøper bare solkrem og noen gaver til slekt og venner i Norge. Forresten går det bra, jeg og min mann har en tur sammen i sommerferien. Han sier alltid til meg at ”Det kan vi gjøre”. Vi er enige om at vi savner hjemmet i Bodø.
Lørdag 21. juli 2001
Vi drar hjem og tar fly som er fra samme firma som når vi dro fra Amsterdam. De heter Transavia Airlines (HV). Vi må vente igjen ca. 3 timer, på grunn av at forrige flyet er avlyst. Egentlig bør det ikke angå oss, men det er en komplisert behandling. Passasjerene er en blanding av begge to fly. Vi har rett til å bli med dette flyet, så vi får plasser. Noen passasjerer har sittet på plasser, men en tjenestemann spør dem om å gå ut av flyet. Det er veldig dårlig arrangert. Til slutt drar vi hjem og ankommer Bodø i god behold. Vi skal ikke velge dette flyselskapet for å reise igjen.

Friday, October 06, 2006

Mitt lille gull

Sofie ble født

"Jeg heter Sofie Kantha Antonsen. Jeg ble født den 26. sept. 2002 kl.10.58 på Nordland Sentralsykehus Bodø Norge. Da veide jeg 5100g og var 52cm lang."

Tospråklig/Bilingual

Sofie og Helene
Jeg kan ikke vente, jeg har stoffer. Jeg synes at det er nyttig å vite for noen mamma som meg. Opplysningen i thai ble samlet fra internett i 2004.

1) ครอบครัวไทย-ฝรั่งเศสบางครอบครัวตัดสินใจใช้แต่ภาษาฝรั่งเศสในบ้าน บางครอบครัวลูกสามารถพูดได้ 2 ภาษา และบางครอบครัวก็ตัดสินใจให้ลูกเรียนภาษาไทยเมื่อโตขึ้น หลังจากที่ผ่านระบบการศึกษาในภาษาฝรั่งเศสในระดับหนึ่งแล้ว แน่นอนว่าคงไม่สามารถบอกได้ว่าครอบครัวใดควรมีวิธีการอย่างไร แต่หากคุณและสามี (หรือภรรยา) มีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะให้ลูกมีความรู้ทั้งภาษาฝรั่งเศสและภาษาไทยตั้งแต่เด็กแล้วละก็ เรากำลังคิดเหมือนกันค่ะ ข้อมูลที่ได้รวบรวมและนำมาถ่ายทอดให้แก่ผู้อ่านนี้ ได้มาจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เนท ครอบครัวที่ให้เวลาและมีความตั้งใจอย่างจริงจังต้องการให้ลูกของตนเองพัฒนาศักยภาพของทั้ง 2 ภาษา มักจะประสบความสำเร็จ แน่นอนว่าอาจจะมีหลายครอบครัวที่ลูกสามารถพูดหรือรู้ภาษามากกว่านี้ ก่อนอื่นขอแปลความหมายของคำว่า “bilingualism” (ภาษาอังกฤษ) หรือ “bilingue” (ภาษาฝรั่งเศส) ว่า “การรู้ 2 ภาษา” ไม่ใช้คำว่า “การพูด 2 ภาษา” เนื่องจาก “การรู้ 2 ภาษา” นั้นมีหลายระดับ ได้แก่ ฟังออก พูดได้ อ่านออกและเข้าใจ และเขียนได้ หรือกระทั่งมีความคล่องแคล่วในการคิดและให้เหตุผล ด้วยภาษาทั้งสองอย่างเท่าเทียมกัน มีผู้อธิบายไว้ดังนี้ - การรู้ทั้ง 2 ภาษาอย่างสมดุลย์ คือมีความสามารถในการใช้ (ระดับต่างๆ) ทั้ง 2 ภาษาอย่างเท่าเทียมกัน - การรู้ทั้ง 2 ภาษาโดยมีภาษาหลักที่ใช้ประจำ ในขณะที่ความรู้ของอีกภาษาหนึ่งจะด้อยกว่า ตัวอย่างเช่น เด็กที่สามารถเข้าใจภาษาไทยเมื่อพ่อหรือแม่พูดด้วย แต่จะสามารถตอบกลับด้วยภาษาฝรั่งเศส ส่วนใหญ่แล้ว คนที่จัดอยู่ในกลุ่ม “รู้ 2 ภาษา” มักจะรู้ภาษาหนึ่งมากกว่าอีกภาษาหนึ่ง เช่น ลูกจะรู้ภาษาฝรั่งเศสมากกว่าภาษาไทย ซึ่งการเด่นของภาษาหนึ่งมากกว่าอีกภาษาหนึ่งนั้น สามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้เมื่อสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป เช่น ลูกของคุณไปเยี่ยมคุณปู่-คุณย่าชาวฝรั่งเศสเป็นเวลา 1 อาทิตย์ พอไปรับกลับบ้านลูกไม่ยอมพูดไทยกับคุณเสียแล้ว แต่พอ 2-3 วันต่อมา เขาจึงยอมพูดด้วย หรือคุณพาลูกกลับไปเยี่ยม คุณตา-คุณยาย ที่ประเทศไทยช่วงปิดเทอมหน้าร้อน ลูกคุณก็จะสามารถรู้ภาษาไทยมากขึ้นและถ้าคุณพ่อชาวฝรั่งเศสไม่ได้ตามกลับไปด้วยแล้วละก็ ลูกก็ไม่ค่อยได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในช่วงเวลานั้น ทำให้บางครั้งอาจมีการลืมและพูดกับคุณพ่อเป็นภาษาฝรั่งเศสไม่ได้ เหตุการณ์ลืมภาษาฝรั่งเศสนี้เรามักเห็นตัวอย่างบ่อยๆ ในนักศึกษาไทยหรือคนไทยที่ถึงแม้จะมีโอกาสได้ใช้ชีวิตอยู่ในฝรั่งเศสหลายปี แต่หลังจากกลับไปทำงานที่ประเทศไทยแล้ว ความสามารถในการใช้ภาษาฝรั่งเศสมักจะด้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่มีสิ่งแวดล้อมที่ต้องใช้ภาษาฝรั่งเศสเลย หรือแม้กระทั่งตัวคุณเองที่อยู่ฝรั่งเศสนานๆ บางครั้งก็นึกคำศัพท์ไทยไม่ออกเวลาพูดคุยกับเพื่อนชาวไทยด้วยกัน ดังนั้น “การรู้ 2 ภาษา” บางครั้งจึงเป็นเพียงปรากฏการณ์ชั่วคราว กล่าวคือหากไม่มีโอกาสที่จะได้ใช้ภาษาที่ตนเองเคยใช้อย่างสม่ำเสมอแล้ว ความสามารถก็จะค่อยๆ เลือนไปทั้งในรุ่นตัวเองหรือในรุ่นลูก-หลาน อย่างเช่น พ่อแม่คนไทยที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานในฝรั่งเศส เมื่อออกลูกมารุ่นแรก ลูกมักจะยังรู้ภาษาไทยและมักเป็นพวกที่ “รู้ 2 ภาษาอย่างสมดุลย์” แต่เมื่อลูกมีลูกหรือหลานรุ่นต่อไป ความสามารถนี้จะลดลง และบางครั้งจะหายไปตามสภาพแวดล้อมที่เขาใช้ชีวิตอยู่ ขึ้นอยู่กับลักษณะชุมชนไทยที่เขามีส่วนร่วม หรือการเข้าร่วมกับสังคมและวัฒนธรรมฝรั่งเศสโดยการแต่งงานกับคนฝรั่งเศสต่อ ในขณะที่นักวิจัยบางท่านกำหนดว่าเด็กจะมีความสามารถในการสื่อสารพื้นฐานของภาษาหนึ่งๆ ที่อายุ 3 ขวบ และทฤษฎี “ช่วงอายุวิกฤติ” (Critical period hypothesis) ซึ่งเป็นความเชื่อที่สั่งสมมานานกล่าวว่า ในเด็กเล็กจะเรียนรู้ภาษาที่ 2 ได้ง่ายและเร็วกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงควรเรียนรู้ภาษาที่ 2 ก่อนช่วงวัยรุ่น แต่ปัจจุบันทฤษฎีนี้เริ่มเป็นที่ถกเถียงและมีคนไม่เชื่อ องค์ประกอบอื่นอาจมีผลต่อความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และเด็ก การเรียนรู้ภาษาอย่างง่ายดายและเร็วของเด็กนั้น อาจเป็นเพราะสิ่งแวดล้อมทำให้เขามีโอกาสในการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและบ่อยกว่าในผู้ใหญ่ ในขณะที่ผู้ใหญ่จะมีความได้เปรียบในการเรียนคำศัพท์ และโครงสร้างของประโยค ถึงแม้ว่าผู้ใหญ่จะไม่มีทางออกเสียงได้เหมือนเจ้าของภาษาที่แท้จริงเหมือนกับเด็ก

การเรียนรู้ 2 ภาษา อาจเป็นรูปแบบเรียนรู้ในเวลาเดียวกัน (simultaneous bilingual acquisition) คือมีการใช้ทั้ง 2 ภาษากับเด็กตั้งแต่ยังเป็นทารก หรือรูปแบบเรียนรู้แบบตามลำดับหรือทีละภาษา (sequential biliangual acquisition) โดยใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งก่อนเพื่อให้เด็กมีพื้นฐานที่เหมาะสมแล้วจึงเริ่มให้รู้ภาษาที่ 2 การเรียนรู้ 2 ภาษาในเวลาเดียวกัน (รูปแบบที่กล่าวต่อไปนี้เป็นวิธีที่ใช้ในเด็กที่ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการพูด) รูปแบบนี้ผู้เชี่ยวชาญเน้นความสำคัญของการแยกภาษาอย่างเด่นชัด เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาเหล่านั้นได้ง่ายขึ้น เมื่อเด็กต้องเรียน 2 ภาษาในเวลาเดียวกัน คุณพ่อ-คุณแม่จำเป็นต้องเลือกวิธีใดวิธีหนึ่ง เพื่อเป็นการขีดขอบเขตของแต่ละภาษาให้ลูกเห็นอย่างชัดเจน ตัวอย่างเช่น - หนึ่งคน หนึ่งภาษา (One Parent One Language, OPOL) วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น กรณีพ่อและแม่พูดภาษาต่างกัน ควรพูดกับลูกด้วยภาษาของตนเอง หรือบางครอบครัวอยากให้ลูกรู้ภาษาที่ 3 หรือ 4 ในเวลาเดียวกันด้วย ก็สามารถทำได้ เช่น จ้างนักศึกษาอเมริกันมาช่วยเลี้ยง หรือให้คุณปู่-คุณย่าที่เป็นคนสเปนช่วยเลี้ยง - กรณีพ่อและแม่พูดภาษาเดียวกัน ก็พูดกับลูกที่บ้านด้วยภาษานั้นๆ แล้วลูกจะเรียนอีกภาษาที่โรงเรียนหรือเวลาเข้าสังคม (Minority Language at Home, MlaH) เช่น ถ้าทั้งพ่อแม่เป็นคนไทย (หรือคู่สมรสสามารถพูดไทยได้) ก็ใช้ภาษาไทยที่บ้าน เวลาลูกไปโรงเรียนก็ต้องใช้ภาษาฝรั่งเศส - ทั้งที่โรงเรียนและที่บ้านพูดภาษาเดียวกัน แต่ในสังคมพูดภาษาที่ 2 (one location, one language) กรณีนี้อาจจะไม่ค่อยพบบ่อยนักสำหรับครอบครัวไทยในฝรั่งเศส - หากทั้งพ่อและแม่พูดได้คล่องแคล่วทั้ง 2 ภาษา ก็สามารถพูดกับลูกได้ทั้ง 2 ภาษา โดยเลือกว่าจะใช้ภาษาใดตามแต่สถานการณ์หรือช่วงเวลา (one time of day, one laguage) เช่น ช่วงระหว่างวันพูดภาษาฝรั่งเศส ช่วงเย็นและเวลาอาหารค่ำที่โต๊ะอาหารใช้ภาษาไทย หรือการใช้วิธีสลับวัน วันละภาษา - พ่อ-แม่ที่พูดได้ทั้ง 2 ภาษาอาจเลือกภาษาที่จะใช้พูดกับลูกแบบสุ่ม กล่าวคือ พ่อ-แม่เปลี่ยนกลับไปกลับมาระหว่าง 2 ภาษาขึ้นอยู่กับหัวข้อที่พูดคุย กิจกรรมที่กำลังทำ หรือกลุ่มคนที่อยู่รอบตัว กรณีนี้มักพบในพ่อ-แม่ที่ไม่ได้ตัดสินใจอย่างละเอียดถี่ถ้วนว่าตนเองต้องการจะเลี้ยงลูกให้รู้ 2 ภาษาหรือไม่ ขบวนการเรียนรู้ 2 ภาษาในเวลาเดียวกันนั้นมีความคล้ายคลึงกับการพัฒนาในการเรียนภาษาเดียว ยกเว้นแต่ว่าเด็กที่รู้ 2 ภาษานั้นต้องทำงานเพิ่มขึ้นในการแยกระบบของ 2 ภาษานั้นออกจากกัน ตามปกติแล้วอายุเฉลี่ยที่เด็กสามารถจะพูดคำแรกได้นั้นอยู่ในช่วง 8-15 เดือน ซึ่งพบในทั้งเด็กที่เรียนรู้ภาษาเดียวและ 2 ภาษา ถึงแม้ว่าตามสถิติแล้วจะพบว่าเด็กที่รู้ 2 ภาษาอาจจะเริ่มพูดช้ากว่าเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเด็กที่รู้ภาษาเดียว แต่ก็จะเริ่มพูดในช่วงอายุดังกล่าว
ขั้นตอนของการเรียนรู้ 2 ภาษาในเวลาเดียวกัน (ในที่นี้เน้นการพูด) ระยะที่ 1 – เด็กยังไม่มีการแยกระบบคำศัพท์ของภาษาทั้งสอง กล่าวคือ “คำ” จากภาษาทั้งสองจะปนกันในพจนานุกรมในสมองของเขา ถึงแม้ว่าพ่อและแม่จะพูดกับลูกด้วยภาษาเดียวของตนไม่ปนกันแต่ลูกอาจรับรู้ว่าเหมือนกัน และเมื่อต้องพูดออกมาก็อาจใช้คำที่ตนเรียนทั้ง 2 ภาษาไปพร้อมๆ กัน เช่น ลูกอาจบอกแม่ว่า “หิว-โอ” หรือ “ซ้วฟ-น้ำ” แทนที่จะพูดว่า “หิวน้ำ” หรือ “ซ้วฟ” นอกจากนี้อาจออกเสียงของคำผสมกัน เช่น เด็กที่เรียนภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสพร้อมกันอาจพูดว่า “ตาตี” (tati) ซึ่งเป็นคำผสมของ “thank you” และ “merci” ทำให้พ่อแม่หรือนักการศึกษาก็จะเป็นกังวลเพราะเขาเชื่อว่าเด็กเกิดความสับสนและไม่สามารถแยก 2 ภาษาได้ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่านี่ไม่เป็นความจริง เหตุผลหลักที่ทำให้เด็กต้องผสมภาษากันนั้น เป็นเพราะว่าเขามีคำศัพท์ที่ไม่เพียงพอในภาษาเดียวหรือทั้ง 2 ภาษาที่จะทำให้เขาแสดงออกเพียงภาษาใดภาษาหนึ่งเท่านั้น ดังนั้นเขาจึงต้องยืมคำศัพท์ระหว่างภาษาทั้งสอง เวลาที่ต้องการจะแสดงออกให้คนที่พูดด้วยเข้าใจ จริงๆ แล้วสถานการณ์นี้ เป็นวิธีการในการสื่อสารอย่างหนึ่งด้วยในพ่อหรือแม่ที่รู้และพูดทั้ง 2 ภาษาได้ เพราะบางครั้งพ่อแม่ก็จะพูดปนกันทั้ง 2 ภาษากับลูกเอง ยิ่งไปกว่านั้นงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าคนที่พูด 2 ภาษาอย่างคล่องแคล่วนั้น กลับสามารถใช้ทั้ง 2 ภาษาปนกันโดยที่ไม่มีการแหกกฎไวยากรณ์ของภาษาทั้งสอง (พบได้บ่อยที่คำศัพท์บางคำของในแต่ละภาษาไม่สามารถหาคำแปลที่ตรงกันได้) ดังนั้นพ่อแม่จึงไม่ควรพยายามที่จะยับยั้งลูกจากการผสมภาษา เพราะเขาจะหยุดผสมภาษาเองตามธรรมชาติเมื่อเขาโตขึ้นและเรียนรู้ว่าควรจะพูดภาษาใดกับใคร ยกเว้นเสียแต่ว่าเขาโตขึ้นมาในสิ่งแวดล้อมที่ใช้แต่ภาษาแบบปนกันตลอดเวลา ระยะที่ 2 – เด็กเริ่มแยกระบบคำศัพท์ของ 2 ภาษาออกจากกันได้บ้างแต่ยังคงใช้หลักไวยากรณ์ปนกันอยู่ เด็กมักเลือกใช้ภาษาที่มีโครงสร้างไวยากรณ์ที่ง่ายกว่าในการพูด ระยะนี้อาจกินเวลา 1-2 ปี เมื่อถึงระยะนี้ คนที่เป็นพ่อแม่อาจกังวลกลัวว่าลูกจะสามารถเรียนรู้ 2 ภาษาหรือไม่ ยิ่งไปกว่านั้นพ่อแม่ก็มักจะต้องใช้ภาษาปนกันเวลาพูดกับลูกเพื่อให้ได้การสื่อสารที่เร็วและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นความพยายามที่จะแบ่งแยกภาษาออกอย่างชัดเจนนั้นจึงเป็นสิ่งที่ยากและไม่เป็นธรรมชาติ (ถึงแม้จะเป็นไปได้) แต่ถ้าหากว่าสังคมส่วนใหญ่จะลูกพูดเพียงภาษาเดียวแล้ว พ่อแม่ก็คงไม่ต้องกังวลว่าเด็กจะใช้ภาษาปนกัน แต่ลักษณะนี้เด็กก็จะพัฒนาการเรียนรู้ไปเป็นแบบภาษาเดียว ดังนั้นคงสรุปได้ว่าพ่อแม่ไม่ควรกังวลหากลูกจะใช้ภาษาปนกัน ถ้าหากว่าคุณอยากให้ลูกรู้ 2 ภาษาเมื่อโตขึ้น ระยะที่ 3 – เด็กสามารถแยกแยะทั้ง 2 ภาษาได้ทั้งคำศัพท์และโครงสร้างของประโยค เด็กสร้างความสัมพันธ์ของภาษาโดยผูกกับคนที่พูดด้วยหรือสิ่งแวดล้อม เช่น ถ้าพูดกับพ่อต้องพูดฝรั่งเศส ถ้ากับแม่ก็ภาษาไทย หรือถ้าไปโรงเรียนต้องใช้แต่ภาษาฝรั่งเศส แต่พอแม่ไปรับเมื่อเห็นแม่ก็จะพูดภาษาไทยกับแม่ทันที สำหรับการเรียนรู้หลักไวยากรณ์ทั่วไปก็เหมือนในเด็กที่ต้องเรียนพูดแต่ภาษาฝรั่งเศสอย่างเดียว เช่น ต้องเรียนรู้ว่ามีการเปลี่ยนรูปของกิริยาเพื่อแสดงอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต และในภาษาไทยต้องเรียนรู้ว่าต้องใช้คำวิเศษณ์เติมที่หน้า ระหว่างหรือหลังประโยค เช่น ฉันกินข้าว เมื่อวานนี้ฉันกินข้าว หรือฉันจะกินข้าว เด็กจะสามารถเรียนรู้กฏและข้อยกเว้นของหลักไวยากรณ์ต่างๆ เมื่อเขามีความมั่นใจและมีความยืดหยุ่นในการใช้แต่ละภาษามากขึ้น เด็กที่มีโอกาสได้ใช้หรือได้ยินทั้ง 2 ภาษาอย่างสม่ำเสมอทั้งจากพ่อ-แม่ หรือคนเลี้ยง จะผ่านจุดสำคัญในการพัฒนาการของภาษาที่ไม่แตกต่าง และอยู่ในอายุช่วงโดยประมาณเดียวกันกับเด็กที่พูดภาษาเดียว สิ่งที่ควรจดจำคือมีความแตกต่างระหว่างเด็กอย่างมากในการเรียนรู้ภาษา เด็กบางคนอาจรู้คำศัพท์คำแรกและพูดได้เร็วกว่าเด็กคนอื่น ความล่าช้าของการเริ่มพูดคำแรกหรือการพูดเป็นประโยคได้นั้น ไม่ได้หมายความว่าจะต้องมีปัญหาหรือมีสิ่งผิดปกติ เด็กที่พูดช้านั้นเขาใช้เวลามากกว่าเด็กคนอื่นเท่านั้น ซึ่งสถานการณ์นี้มักพบในเด็กที่ต้องเรียน 2 ภาษา สิ่งที่สำคัญคือพ่อ-แม่จะต้องจัดสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ลูกได้ยินหรือได้ใช้ทั้ง 2 ภาษาตลอดเวลา และต้องหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมภาษาของเด็กอย่างทันทีทันใด ซึ่งอาจทำให้เกิดการขาดตอนของการพัฒนาการของภาษาและก่อให้เกิดความลำบากแก่เด็ก บางกรณีที่ผู้เชี่ยวชาญหรือแพทย์บางท่านแนะนำให้เลิกใช้ภาษาใดภาษาหนึ่งเวลาพูดกับเด็ก และภาษาที่ต้องเลิกใช้ก็มักเป็นภาษาที่ไม่ได้ถูกใช้บ่อยในสังคม เช่นภาษาไทยในสังคมฝรั่งเศส ด้วยเหตุผลคือ 1) มักเชื่อว่าการได้ยินมากกว่า 1 ภาษาจะทำให้เด็กสับสนและนำไปสู่ปัญหาการเรียนรู้ภาษาได้ 2) เชื่อกันว่าการเรียนรู้ภาษาหลักเพียงภาษาเดียวก่อน จะทำให้เด็กมีโอกาสเรียนรู้ได้มากกว่าโดยไม่ต้องมีการแข่งขันของอีกภาษาหนึ่ง อย่างไรก็ดี จนถึงปัจจุบันนี้ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ทางวิทยาศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าการได้ยินมากกว่า 1 ภาษาตั้งแต่วัยเด็กเล็กนั้นจะนำไปสู่ปัญหาความล่าช้าหรือความผิดปกติในการเรียนภาษาแต่อย่างใด นอกจากนี้ก็ยังไม่มีหลักฐานที่แสดงว่า หากเลิกใช้ภาษาหนึ่งแล้วจะทำให้เด็กสามารถเรียนรู้ภาษาเดียวเป็นหลักได้ดีขึ้น

การเรียนรู้ 2 ภาษาแบบตามลำดับ รูปแบบนี้เด็กจะเรียนรู้ภาษาที่ 2 เมื่อเขามีพื้นฐานที่ดีในภาษาที่ 1 แล้ว สถานการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยเช่น กรณีที่พ่อ-แม่ต้องย้ายถิ่นฐานมาอยู่ในฝรั่งเศส และลูกจะต้องมาเรียนภาษาฝรั่งเศสโดยที่ลูกสามารถพูดและเข้าใจภาษาไทยได้แล้ว หรือแม้กระทั่งเด็กที่เกิดในฝรั่งเศสแต่ถูกเลี้ยงดูเฉพาะในสิ่งแวดล้อมของภาษาเดียวเท่านั้น และเมื่อถึงวัยต้องเข้าโรงเรียนที่ 2-3 ขวบจึงเริ่มเรียนอีกภาษาหนึ่ง เช่น ลูกหลานคนจีนที่อยู่ในชุมชนจีนใหญ่ หรือในเด็กที่เกิดในฝรั่งเศสแต่พ่อแม่ไม่ได้พูดภาษาไทยด้วย แล้วต้องย้ายกลับไปใช้ชีวิตและเข้าโรงเรียนที่ประเทศไทย หรือกรณีที่ลูกถูกส่งไปเรียนภาษาไทยช่วงปิดเทอมใหญ่ที่เมืองไทย ขั้นตอนการเรียนรู้รูปแบบนี้มีความแตกต่างกันในเด็กแต่ละคน เป็นรูปแบบที่มีความซับซ้อนและมีขบวนการที่ยาวนานกว่าการเรียน 2 ภาษาไปพร้อมๆ กัน (ไม่จำเป็นต้องเกิดขึ้นตามลำดับหรือทุกขั้นตอน) แต่พอมีขั้นตอนที่พอสรุปได้คือ - ระยะการปฏิสัมพันธ์ เด็กส่วนใหญ่เรียนภาษาที่ 2 เพราะพยายามที่จะสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม คือการเล่นกับเพื่อนที่อายุใกล้เคียงกัน เริ่มต้นเขาจะสื่อสารด้วยภาษาที่ไม่ต้องใช้การพูด จากนั้นเขาจะเรียนภาษาง่ายๆ จากคนอื่นในระหว่างที่เล่นด้วยกัน และพัฒนาจนสามารถพอที่จะสื่อสารกันได้ - ระยะการใช้ 2 ภาษาควบคู่กัน เกิดขึ้นในระยะแรกๆ เพราะเด็กจะพยายามสื่อสารทำให้ใช้หลักหรือคำศัพท์ของภาษาที่ 1 มาใช้กับภาษาที่ 2 เช่น ลูกอาจจะใช้ศัพท์ฝรั่งเศสแทรกในภาษาไทยที่พูดกับเพื่อน - ระยะเงียบ-ไม่พูดจา เด็กหลายคนเกิดอาการนี้เมื่อต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมของภาษาที่ 2 ระยะนี้อาจกินเวลาหลายเดือน ซึ่งก็อาจจะเป็นช่วงเวลาที่เด็กพยายามสร้างความเข้าใจต่อภาษาที่ตนเองไม่รู้จักนั่นเอง ระยะเวลาของการเงียบนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการเรียนรู้และบุคลิกภาพของเด็กแต่ละคน เช่นเด็กบางคนมีบุคลิกภาพชอบสังเกตก็อาจจะเงียบนานกว่า ทำให้เริ่มพูดช้ากว่าเด็กที่ชอบเข้าสังคมและเล่นกับเพื่อน ซึ่งสิ่งนี้ก็พบเสมอในเด็กที่เรียนรู้เพียงภาษาเดียว บางครั้งการที่เด็กไม่ยอมพูด บางครั้งเป็นเพราะเด็กไม่ได้มีโอกาสในการได้ยินภาษาอย่างเพียงพอ ที่จะทำให้เขาได้เรียนรู้กฏเกณฑ์ของภาษานั้น ซึ่งบ่อยครั้งที่เด็กไม่จำเป็นต้องพูด เพราะว่าพ่อแม่ตอบสนองต่อลูกเมื่อลูกใช้ภาษาท่าทางโดยการชี้แทนการพูด - ระยะการเปลี่ยนกลับไปกลับมา เป็นขบวนการปกติของการเปลี่ยนกลับไป-มาระหว่าง 2 ภาษาภายในประโยคเดียวกัน จริงๆ แล้วเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นบ่อยหากเด็กได้ยินผู้ใหญ่หรือผู้เป็นพ่อ-แม่พูด 2 ภาษาปะปนกัน - ระยะการลืมภาษา ระยะนี้จะเกิดขึ้นหากภาษาที่ 1 ต้องถูกแทนที่ด้วยภาษาที่ 2 แบบทันทีทันใด พบบ่อย เช่น ในเด็กที่คุณพ่อ-คุณแม่พาไปอยู่กับคุณปู่คุณย่าชาวฝรั่งเศส ทำให้ระหว่างนั้นไม่มีการใช้ภาษาไทยเลย จะทำให้เด็กลืมภาษาไทยและพูดกับแม่เป็นภาษาฝรั่งเศส หรือช่วงที่เด็กกลับเมืองไทยโดยที่คุณพ่อชาวฝรั่งเศสไม่ได้ตามไปด้วย เด็กก็ไม่มีโอกาสได้ใช้ภาษาฝรั่งเศสเลย พอกลับมาถึงก็จะพูดกับคุณพ่อชาวฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย
ข้อพิจารณาสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ การเรียนรู้ภาษาในช่วง 10 ปีแรกของชีวิตเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อความสำเร็จทางด้านการเรียนและทักษะทางสังคม คงเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกรายละเอียดทั้งหมดที่พ่อแม่ควรพิจารณา เมื่อเด็กอยู่ในสถานการณ์ที่เขาควรจะต้องเรียนรู้มากกว่า 1 ภาษา ในฐานะที่คุณเป็นผู้ตัดสินใจเลือกทางเดินให้แก่ชีวิตของลูกตัวเอง มีหลายสิ่งที่ควรพิจารณาดังนี้ แรงจูงใจของพ่อ-แม่ นับว่าต้องใช้ความพยายามและความตั้งใจอย่างมากในการเลี้ยงลูกให้รู้ 2 ภาษา พ่อ-แม่ควรต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนว่าทำไมตนจึงอยากให้ลูกเรียนรู้ทั้ง 2 ภาษา เช่น ตัวคุณเองพูด 2 ภาษาได้จึงอยากให้ลูกพูดได้เช่นกัน หรือคุณต้องการให้ลูกสามารถสื่อสารกับครอบครัวซึ่งอยู่เมืองไทยได้ หรือคุณคิดว่าการให้ลูกรู้ 2 ภาษาเป็นการรักษามรดกทางวัฒนธรรมที่จำเป็นต้องถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง หรือคุณมีแผนการจะต้องย้ายไปอยู่ต่างประเทศจึงต้องการให้ลูกเรียนรู้ภาษาของประเทศนั้นๆก่อน นอกจากนี้คุณควรต้องพิจารณาถึงระดับของการรู้ทั้ง 2 ภาษาด้วย เช่นคุณอาจคาดหวังว่าลูกจะต้องพูด อ่านออก เขียนได้ทั้ง 2 ภาษา หรือพูดได้ในภาษาหนึ่ง และเข้าใจแต่พูดไม่ได้ในอีกภาษาหนึ่ง และถ้าคุณพิจารณาเลือกวิธีการ “หนึ่งคน หนึ่งภาษา” แล้ว ทั้งพ่อและแม่ก็จำเป็นต้องมีการพูดคุยกับลูกด้วยภาษาของตนอย่างจริงจัง เรื่องนี้มีความสำคัญมากโดยเฉพาะหากภาษานั้นๆ ไม่ได้เป็นที่ใช้กันแพร่หลายในสังคม เช่นชนชาติที่รู้ภาษาไทยมีเพียงแค่คนไทยเท่านั้น (และคนลาวเพราะเป็นภาษาที่มีความใกล้เคียงกันมาก) ดังนั้นหากคุณแม่คนไทยไม่ค่อยพูดกับลูกเป็นภาษาไทยแล้ว หรือไม่ค่อยได้มีเวลาให้กับลูกเช่นกรณีที่คุณแม่ต้องทำงานนอกบ้าน และไม่ค่อยได้พาลูกเข้ากลุ่มสังคมคนไทยด้วยกันแล้ว โอกาสที่ลูกจะได้เรียนภาษาไทยก็ยิ่งน้อยขึ้นไปอีก หากลูกไม่ประสบความสำเร็จในการรู้หรือพูดภาษาไทยคุณก็คงไม่ต้องสงสัยอะไร การให้กำลังใจ เด็กไม่ได้เรียนรู้โดยเพียงแต่ “เก็บตก” ภาษา แต่เขาต้องการความรัก การสนับสนุนและการให้กำลังใจอย่างมากในการพัฒนาทั้ง 2 ภาษาให้ได้อย่างดี หากเด็กต้องเรียนรู้ภายใต้สิ่งแวดล้อมที่เคร่งเครียดก็อาจนำไปสู่ปัญหาการพัฒนาการด้านภาษาได้ ซึ่งสิ่งนี้ก็เกิดขึ้นได้ในเด็กที่ต้องเรียนเพียงแค่ภาษาเดียว จงให้กำลังใจเขาในการใช้แต่ภาษาไทยตลอดบทสนทนากับคุณ เช่น หลีกเลี่ยงให้เขาพูดภาษาฝรั่งเศสกับคุณ โดยการขอให้เขาพูดซ้ำสิ่งที่เขาพูดเป็นภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาไทย หรือคุณช่วยเขาสร้างประโยคภาษาไทยในสิ่งที่เขาอยากพูดหรือพูดเป็นภาษาฝรั่งเศส หรือบอกคำศัพท์ไทยที่เขาไม่รู้เพื่อให้เขาสามารถสร้างทั้งประโยคเป็นภาษาไทยได้ จงอย่าใช้ “การใช้ภาษา” เป็นประเด็นหลักที่จะใช้ในการลงโทษลูก และอย่าทำโทษหรือว่ากล่าวเด็กในการที่เขาจะใช้ภาษาใด หรือไม่ใช้ภาษาใด
ความเชี่ยวชาญในภาษาทั้งสองของพ่อ-แม่ พ่อ-แม่ควรมีความรู้สึกเป็นธรรมชาติในภาษาที่ตัวเองใช้พูดกับลูก ต้องแน่ใจว่าลูกได้ยินทั้ง 2 ภาษา (หรือมากกว่า) อย่างสม่ำเสมอและบ่อยในสถานการณ์ที่หลากหลาย เช่น พยายามให้เด็กได้พูดคุยกับคนไทยหลายๆ คน สร้างโอกาสให้แก่ลูกของคุณให้ได้ใช้ภาษาทั้งหมดที่เขาได้ยิน เด็กก็จะเรียนรู้วิธีการแสดงออกหรือการพูดได้หลากหลาย และได้ยินคำศัพท์ใหม่ๆ เพิ่มขึ้น คุณแม่ทั่วไปมักพูดกับลูกด้วยศัพท์ง่ายๆ ซ้ำๆ ในชีวิตประจำวัน ลูกก็ไม่ได้เรียนคำศัพท์ใหม่ นอกจากนี้เด็กเรียนรู้คำศัพท์จากคนที่ได้พูดคุยด้วยแตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นคนไทยหรือคนฝรั่งเศส ถ้าเด็กพูดกับคนฝรั่งเศสบ่อยกว่า เด็กก็จะรู้คำศัพท์ที่ใช้อธิบายสิ่งของเป็นภาษาฝรั่งเศสมากกว่าคำศัพท์ไทย ทำให้เด็กมีแนวโน้มในการเรียกชื่อของนั้นๆ เป็นภาษาฝรั่งเศส โดยทั่วไปแล้วความสามารถของเด็กที่ต้องเรียน 2 ภาษาขึ้นอยู่กับปริมาณเวลาที่เขาได้มีโอกาสได้ใช้ในแต่ละภาษานั่นเอง ดังนั้นจึงมีความสำคัญอย่างมากที่พ่อหรือแม่คนไทย ต้องพูดกับลูกเป็นภาษาไทย เพื่อให้ลูกได้มีโอกาสได้ใช้ภาษาไทยให้มากที่สุด เพราะในชีวิตประจำวันของเขาที่โรงเรียนซึ่งเป็นที่ๆ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่เป็นแต่สิ่งแวดล้อมที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส คุณควรพูดกับลูกๆ ของคุณทุกคน (กรณีมีหลายคน) ในแบบเดียวกัน ไม่ใช่ว่าใช้ภาษาหนึ่งกับลูกคนโตและอีกภาษากับคนเล็ก การเรียนรู้ภาษามีความสัมพันธ์กับสถานการณ์ทางอารมณ์ และถ้าคุณพูดกับลูกๆ ด้วยภาษาที่ต่างกันแล้ว ลูกของคุณบางคนอาจจะรู้สึกแปลกแยกซึ่งอาจมีผลเสียต่อการพัฒนาพฤติกรรมของเขาได้ กรณีที่พ่อแม่มักต้องการให้ลูกมีความสามารถในการอ่านและเขียนได้ด้วยทั้ง 2 ภาษา นอกเหนือไปจากการพูด แต่ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะเรียนอ่าน-เขียนเฉพาะภาษาฝรั่งเศสที่โรงเรียน ความที่ตัวอักษรไทยมีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับภาษาฝรั่งเศส พ่อแม่อาจพิจารณาสอนพิเศษ (สอนเองหรือจ้างครูสอน) ช่วงเย็นหรือวันเสาร์-อาทิตย์ หรือจัดหาอุปกรณ์ หนังสือ เทป ต่างๆ จากประเทศไทยเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ด้วยตนเอง การอ่านหนังสือเป็นวิธีที่สุดในการช่วยให้เขารู้คำศัพท์ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นภาษาใดก็แล้วแต่ ไม่เพียงแต่สนับสนุนในการเรียนรู้ภาษาของเขาเท่านั้น แต่ยังช่วยให้เกิดการสร้างสัมพันธภาพระหว่างเด็กและพ่อแม่อีกด้วย นอกจากนั้นยังเป็นการสอนเด็กโดยอ้อม เกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมของประเทศที่พูดภาษานั้น ซึ่งเขามีโอกาสน้อยที่จะพบเห็นในสิ่งแวดล้อมที่เขาอยู่ในปัจจุบัน
มักเชื่อกันโดยทั่วไปว่าเป็นการง่ายสำหรับเด็ก ที่จะเรียนภาษาใหม่โดยที่ไม่ต้องใช้ความพยายามอะไรเลย อย่างไรก็ตามการเรียนรู้ภาษา ถึงแม้จะเป็นเพียงแค่ภาษาเดียวก็เป็นขบวนการที่ใช้เวลาอย่างต่อเนื่องหลายปี ภาษาเป็นสิ่งที่มีความซับซ้อน การเรียนรู้ความสลับซับซ้อนของภาษานั้นๆ จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ชีวิตอย่างมาก อาจจะไม่ได้ใช้เวลานานในการเรียนรู้ที่จะพูดหรือสร้างประโยคง่ายๆ (ถึงแม้ว่าในเด็กที่เรียนรู้เพียงภาษาเดียวต้องใช้เวลาถึง 3 ปีก่อนที่จะสามารถพูดและสื่อสารให้ผู้อื่นที่ไม่ใช่พ่อแม่หรือคนเลี้ยงให้เข้าใจได้) แต่ต้องใช้เวลานานมากกว่าที่จะสามารถพัฒนาทักษะในการพูดภาษาที่เป็นทางการ สิ่งแวดล้อมมีบทบาทสำคัญต่อการเรียนรู้ที่จะพูด เด็กเรียนที่จะพูดต่อเมื่อเขาได้ยินผู้อื่นพูดกับเขาในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน การพัฒนาภาษาในช่วงแรกขึ้นอยู่กับความรู้ของคำศัพท์ ยิ่งเด็กรู้คำศัพท์มากเท่าไรเขาก็จะเรียนรู้ที่จะพูดได้ดีขึ้นมากเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้เขามีโอกาสในการเรียนรู้ดียิ่งขึ้นในอนาคต

อ้างอิงจาก Marsha Rosenberg (1996) Raising bilingual children: http://iteslj.org/Articles/Rosenberg-Bilingual.html Claire Watson (1995) Helping families from other cultures decide on how to talk to their child with language delays.: http://hanen.velocet.ca/wigwag_winter95.shtml Fred Genesee: Bilingual acquisition. http://www.earlychildhood.com/Articles Annick De Houwer (1999) Two or more languages in early childhood: some general points and practical recommendations. http://www.cal.org/ERICCLL/digest/earlychild.html Nadine Lichtenberger:Raising bilingual kids in german and english (1 and 2). An online supplement to The German Way by Hyde Flippo Passport Books (a division of NTC/Contemporary Publishing) ISBN 0-8442-2513-4

2)บทความโดย คุณรัตนา Coville ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกให้พูด 2 ภาษา (1) จากประสบการณ์ เล็กๆน้อยๆ ที่อยากเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะเป็นประโยชน์ต่อคุณแม่ทั้งหลาย (โดยเฉพาะคุณแม่ที่เป็นคนไทย) ที่กำลังจะมีน้องตัวน้อยๆ หรือคุณแม่ที่มีลูก กำลังเริ่มจะพูดจา บางครั้งคุณแม่คงสับสนว่าจะให้ลูกพูดภาษาไทยไปพร้อมกับภาษาต่างชาติไหมหนอ กลัวจะยากลำบาก และกลัวว่าจะเป็นผลดีผลเสียต่อลูกไหม แต่ก็อยากให้ลูกพูดภาษาไทยได้ เข้าใจภาษาไทยได้ดี เพราะเวลาไปเยี่ยมญาติที่เมืองไทย เด็กจะได้ไม่เหงา และสามารถพูดคุยกับทุกคนได้ คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ต้องเหนื่อยแปลภาษา หลายๆ ครอบครัวคนไทยในฝรั่งเศสคงพยายามช่วยลูกด้วยวิธีการและเทคนิคที่แตกต่างกัน เพราะเด็กแต่ละคนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกัน การปฏิบัติจึงอาจแตกต่างกันไป สำหรับดิฉันคิดว่าการเรียนรู้ของเด็กตั้งแต่เล็ก ย่อมเป็นผลต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และการให้เด็กได้พูดภาษาไทยนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด และเราคนไทยควรปลูกฝังให้เด็กได้รู้จักและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีไทยของเราไว้ ตัวอย่างง่ายๆ การมีสัมมาคารวะต่อผู้สูงอายุ ไปมาลาไหว้ การสำนึกบุญคุณ และมีกตัญญู ถ้าเด็กได้เรียนรู้และปฏิบัติตั้งแต่ต้น ความเคยชินกับสิ่งนี้ก็จะติดตัวเด็กไป ทั้งจากประสบการณ์ของดิฉันและการที่ได้เห็นคุณแม่อีกหลายๆ คน ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการสอนลูกพูดภาษาไทยได้ชัดเจน และสามารถโต้ตอบได้เหมือนอยู่ในเมืองไทย ดิฉันคิดว่าการสอนให้เด็กพูดภาษาไทยตั้งแต่เล็กอยู่ จะเป็นรากฐานที่ดี ดิฉันใช้วิธีสอนให้ลูกพูด 2 ภาษาไปพร้อมๆ กัน ดิฉันมีความตั้งใจว่าจะสอนลูกให้พูดภาษาไทยตั้งแต่ตั้งท้องแล้ว พอแกลืมตามองโลกก็พูดภาษาไทยกับลูกทุกวัน ส่วนคุณพ่อก็พูดภาษาฝรั่งเศสกับลูก ตอนนี้ลูกสาวเกือบจะ 8 ขวบแล้ว ก็พูดและเข้าใจภาษาไทยได้ดี (แม้สำเนียงจะยังไม่ค่อยชัดเจนเหมือนคนไทยจริงๆ) กลับไปเมืองไทยก็พูดกับญาติๆ และเล่นสนุกกับเพื่อนๆ ได้ และยังเป็นเด็กที่รักเมืองไทยมาก การที่คุณแม่พูดภาษาไทยอย่างต่อเนื่องทุกวัน สม่ำเสมอ ให้ลูกฟัง เป็นวิธีที่ดีที่สุด และได้ผลที่สุดด้วย ตอนเล็กๆ สมองของเด็กสามารถเก็บข้อมูลได้เร็วและจำได้ขึ้นใจ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีเวลาและให้กำลังใจแก่ลูก อ่านหนังสือให้ลูกฟัง ทำให้ลูกคุ้นเคยกับตัวหนังสือไทยและตัวเลขไทยตั้งแต่เล็กๆ ปล่อยแกสนใจอย่างธรรมชาติ ถึงจะเขียนและอ่านไม่ได้ตอนแรก ก็ไม่จำเป็นต้องบังคับ ควรปล่อยให้แกสบายใจในขณะที่เรียนรู้ แต่ถ้าเด็กต้องการที่จะเรียนย่อมเป็นโอกาสที่ดีของคุณแม่ที่จะสอนไปพร้อมกัน และที่สำคัญที่สุด คือควรพยายามสอนให้ถูกหลักจะดีกว่าสอนลูกคำต่อคำ หรือพูดผสมไทยคำฝรั่งเศสคำ ซึ่งบางครั้งเราก็อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะชีวิตความเป็นอยู่ต้องใช้ 2 ภาษาพร้อมกัน แต่ก็อยู่ที่ความตั้งใจของคุณแม่ที่จะเข้มงวดแค่ไหน ถ้าอยากให้ผลที่ออกมาค่อนข้างจะสมบูรณ์ คุณแม่ก็ต้องระวังในการพูด เพราะจุดนี้จะเป็นผลต่อเด็ก และต่อความจำของเด็ก เด็กจะจำและเลียนแบบทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณแม่พูดออกมา การพูดประโยคที่มีความหมายชัดเจนและสมบูรณ์แต่ต้นๆ จะช่วยให้เด็กเรียนรู้ การเขียนและการอ่านได้เร็วขึ้น เมื่อเขาเติบโตและพร้อมที่จะเรียนภาษาไทยเพิ่มเติมในภายหน้า กิจกรรมอื่นที่ช่วยให้ลูกจำง่ายและสนุกเพลิดเพลินไปกับการเรียนก็คือ มีหนังสือการเรียนประกอบภาพ วิดีโอเทป มีภาพเคลื่อนไหว อีกวิธีหนึ่งคือ เขียนตัวหนังสือบนกระดาษสี่เหลี่ยม ด้วยคำต่างๆ เช่น แก้วน้ำ เก้าอี้ ช้อน ฯลฯ จะช่วยให้ลูกจำคำศัพท์ใหม่ๆ ได้เร็ว

ประสบการณ์ในการเลี้ยงลูกให้พูด 2 ภาษา (2) อย่างไรก็ตามอยากเล่าเกี่ยวกับปัญหาของลูกสาวช่วงเข้าโรงเรียน เพราะพูดภาษาไทยและใกล้ชิดกับแม่มากกว่าพ่อ ตอนอยู่อนุบาลก็ไม่ค่อยจะมีปัญหานัก แต่พอเริ่มเรียน ป. 1 ตอนเทอมแรกรู้สึกว่าแกจะมีปัญหาเรียนไม่ทันเพื่อนๆ เพราะภาษาฝรั่งเศสอ่อนมาก ขณะที่การเรียน ป. 1 เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการเรียนภาษาฝรั่งเศสเริ่มต้น ต้องใช้เวลาและทำความเข้าใจภาษาและไวยากรณ์ให้ถูกต้อง เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว พอเลื่อนชั้นสูงขึ้นไป ก็ยิ่งยากขึ้นทุกที ช่วงนั้นกลุ้มใจและสับสนมาก สงสารลูก กลัวไม่ทันเพื่อน และลูกสาวก็บอกว่า “คุณแม่ไม่อยากพูดภาษาไทยเลยช่วงนี้ บางครั้งลืมตัวพูดที่โรงเรียน เพื่อนเขาล้อหนูว่าพูดไม่รู้เรื่อง” โทรศัพท์ถามเพื่อนคนไทย ทุกคนก็มีความคิดเห็นต่างกัน บ้างก็ว่าเป็นเรื่องธรรมดา บ้างก็ว่าสงสัยลูกเธอจะมีปัญหา ลูกฉันไม่เห็นเป็นอะไรเลย ท้ายสุดก็ปรึกษาครูประจำชั้นซึ่งเป็นหนทางที่ดีที่สุด เขาก็แนะนำและบอกว่าเป็นเรื่องธรรมดาของเด็กลูกครึ่งที่ต้องพูด 2 ภาษาพร้อมกัน คือตอนแรกอาจจะปรับตัวได้ช้าหน่อย แต่หลังจากนั้นก็จะดีขึ้นเอง ขึ้นอยู่กับภูมิปัญญา และการเรียนรู้ของเด็กว่าจะไปได้ขนาดไหน คุณครูแนะนำให้อ่านหนังสือฝรั่งเศสบ่อยๆ สำหรับพ่อแม่ที่เป็นฝรั่งเศสคงไม่มีปัญหา แต่ดิฉันเป็นคนไทย ภาษายังไม่หนักแน่นทำให้มีปัญหาไม่สามารถช่วยอธิบายการบ้านให้ลูกได้ และยิ่งถ้าครอบครัวไหนมีคุณพ่อที่ทำงาน และไม่มีเวลาดูแลเรื่องการเรียนของลูกก็จะยิ่งไปใหญ่ หลังจากรู้จุดอ่อนของลูกสาวแล้ว ก็หาคุณครูมาสอนพิเศษอาทิตย์ละครั้ง ต่อมาเทอมที่ 2 และ 3 การเรียนก็ดีขึ้น ไม่ถึงขั้นที่จะต้องกลุ้มใจหนัก สังเกตได้จากเทอมสุดท้าย ภาษาแกเรียนรู้ได้เร็วมาก พอจบ ป. 1 ก็อ่านออก เขียนได้ ตัวเองคิดว่า ก่อนจะเข้า ป. 1 ควรหัดให้ลูกมีการเตรียมตัวเกี่ยวกับภาษาฝรั่งเศส คุ้นเคยกับตัวเลขและตัวหนังสือ หัดให้เด็กอ่านและดูหนังสือให้ผ่านตา คิดว่าวิธีนี้อาจจะช่วยได้บ้าง ถึงจะไม่เข้าใจหมด แต่ก็จะได้ศัพท์ และรู้ความหมายของคำต่างๆ ได้เยอะ สำหรับคุณแม่ที่มีลูกมีปัญหาที่โรงเรียนเหมือนอย่างดิฉันในช่วงแรกนั้น ก็ไม่ต้องกังวลไปเพียงแต่คอยช่วยให้กำลังใจลูก มีอะไรก็ขอคำแนะนำจากคุณครูประจำชั้นของลูก เพราะเขารู้ดีว่า ลูกเราอ่อนวิชาไหน และควรทำอย่างไร และแน่นอนที่สุด บุคคลที่จะช่วยลูกได้ดีที่สุดที่บ้านก็คือ คุณพ่อคุณแม่นั่นเอง ความรัก ความเอาใจใส่ เวลาและกำลังใจที่คุณพ่อคุณแม่มอบแก่ลูก เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ขอให้โชคดีทุกคนนะคะ

thainorsk

Jeg vil starte thainorsk prosjektet i neste uke!